เครื่องปั้นดินเผา : ณ ถิ่นบ้านเชียง ดินแดนแห่งวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า


เครื่องปั้นดินเผาในวัฒนธรรมบ้านเชียง


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ครื่องปั้นดินเผาในสมัยแรก ประมาณ  5,600 - 3,000 ปี



(ที่มา : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง)


(ที่มา : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง)

เครื่องปั้นดินเผาทุกชิ้นที่พบที่บ้านเชียงนั้น ถึงจะเก่าแก่เพียงใดก็ยังมีรูปร่างและส่วนสัดและมีการออกแบบที่งดงามเป็นอย่างยิ่งมีฝีมือการเขียนสีโดยไม่ต้องใช้แบบ ตามภาชนะที่พบมักเป็นลายกลุ่มแบบก้านขดเป็นส่วนมาก เป็นลายศิลปะที่ใช้กันทั่วไป ในการออกแบบลวดลายเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียงแบบอื่นๆ ที่ช่างปั้นในสมัยนั้นใช้ คือ แบบขัดมัน แบบเขียนสี แบบเชือกทาบและแบบเติมลวดลายประดับ ศิลปะการออกแบบลวดลายอันวิจิตรพิสดารเช่นนั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าภาชนะเหล่านี้มิได้ทำไว้สำหรับเป็นเครื่องใช้แต่เพียงอย่างเดียว

เครื่องปั้นดินเผาในสมัยกลาง ประมาณ 3,000 - 2,300 ปี

(ที่มา : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง)
เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ในพิธีฝังศพในสมัยกลางมีความงดงามในเชิงประติมากรรมเหนือกว่าสมัยอื่นๆ เพราะเครื่องปั้นแบบนี้ไม่มีใครรู้จักมาก่อน จนกระทั่งได้มีการขุดค้นทางวิชาการขึ้น เนื่องจากพวกลักลอบขุดได้เก็บเอาภาชนะที่อยู่ในสภาพดีไปจนหมด ทิ้งไว้แต่เศษภาชนะที่ถูกทุบทิ้งไว้บนศพ ซึ่งเป็นพิธีฝังศพของคนในสมัยนั้น จึงไม่มีผู้ใดได้เห็นความงดงามของภาชนะเหล่านี้ จนกระทั่งได้นำเศษของหม้อไหมากกว่า 100 ชิ้นมาต่อกันจนได้เป็นรูปภาชนะ เดิมพบว่าช่างปั้นสมัยนี้ผลิตภาชนะขนาดใหญ่โดยปั้นแต่ละส่วนของภาชนะไว้ก่อน เช่น ใช้แม่พิมพ์พิมพ์เชิงทิ้งไว้จนเกือบแห้งแล้วจึงนำไปต่อกับตัวภาชนะส่วนบนที่อาจปั้นด้วยมือบนแป้นหมุน ถ้าดูจากเนื้อที่บางและสีที่เรียบเพราะผ่านการเผาไฟที่มีความร้อนสม่ำเสมอก็จะเห็นว่าฝีมือปั้นหม้อในสมัยนี้เป็นฝีมือที่ยอดเยี่ยมมาก
ภาชนะดินเผาก้นแหลมในสมัยกลาง ประมาณ 2,800 - 2,400 ปี



(ที่มา : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง)



(ที่มา : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง)

                      ที่เห็นในภาพนี้เป็นภาชนะดินเผาที่ต่อขึ้นจากเศษที่ขุดพบฝังรวมอยู่กับโครงกระดูกหลายโครงในหลุมเดียวกัน สันนิษฐานว่าเป็นโครงกระดูกของคนในครอบครัวเดียวกัน ภาชนะที่ต่อขึ้นนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า 11 ใบ ซึ่งมีทั้งแบบเขียนสีแดงมีลายขูดและแบบสีขาวเกลี้ยงไม่มีลาย ทั้งสองแบบนี้มักพบอยู่ด้วยกันตามหลุมที่มีโครงกระดูกฝังรวมอยู่เป็นกลุ่ม ภาชนะเหล่านี้ถ้าทำไว้ใช้ก็น่าจะต้องทำเชิงไว้สำหรับตั้งด้วย

เครื่องปั้นดินเผาในสมัยหลัง ประมาณ 2,300 - 1,800 ปี





(ที่มา : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง)

เครื่องปั้นลายเขียนสีแดงที่นั่งความสนใจสู่บ้านเชียงเป็นเครื่องปั้นดินเผาในสมัยหลังที่ชาวบ้านเชียงสมัยนี้ไม่นิยมทำพิธีทุกภาชนะที่แบบบางทิ้งไว้บนศพอย่างสมัยก่อน แต่เปลี่ยนเป็นวางภาชนะที่หนักและหนากว่าทั้งใบไว้แทน ช่างปั้นสมัยนี้มีความสามารถเป็นเลิศในการเขียนสีลายก้านขดที่มีความงดงามและอ่อนช้อย เป็นสัญลักษณ์ของบ้านเชียงลวดลายแปลกๆและแบบที่ไม่ซ้ำกันมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ แต่ที่น่าเสียดายคือขุดได้ภาชนะแบบนี้เพียงไม่กี่ใบเพราะส่วนใหญ่ถูกลักลอบขุดเอาไปแล้ว

ภาชนะเขียนลายสีแดงสมัยหลัง อายุประมาณ  2,300 - 1,900 ปีมาแล้ว

ภาชนะจำนวนมากที่ทำขึ้นในสมัยหลังนี้ ถึงแม้จะเน้นความสวยงามด้วยการเขียนสี แต่การปั้นและการเผากับไม่ประณีต อาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงประโยชน์ใช้สอยซึ่งแต่เดิมเคยใช้ในพิธีศพ





.............................................................................................................................................................................................................

อ้างอิง

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
- The culture-oriented measures. บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี. ค้นหาเมื่อ 23 ตุลาคม 2560 จาก https://sites.google.com/site/thecultureorientedmeasures/kar-thxng-theiyw-1.



ความคิดเห็น