นครวัด : ณ แดนดินถิ่นเขมร


นครวัด : มหัศจรรย์แห่งจินตภาพ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

นครวัดเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดของชาวกัมพูชาจนกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไปโดยปริยาย ดังจะเห็นได้จากธงชาติของกัมพูชาที่ปรากฏภาพนครวัดอยู่กลางผืนธง นครวัดสร้างขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2  ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยคูน้ำทั้ง 4 ด้านและมีกำแพงยาวโอบล้อมสิ่งก่อสร้างภายในทั้งหมด ด้านในแนวกำแพงจะสร้างระเบียงเชื่อมต่อกัน มีประตูทางเข้าถึง 4 ทิศโดยมีประตูหลักอยู่ทางทิศตะวันตก
มีเสียงเล่าขานทำนองเดียวกันว่า ก้าวแรกที่สัมผัสทางเข้าจะมีประตูหินขนาดใหญ่ทอดยาวผ่านคูเมืองขนาดใหญ่ ทำให้เห็นภาพอันวิจิตรของสถาปัตยกรรมทรงปรางค์ 5 ยอดตั้งสง่างามปรากฏสู่สายตา ขณะที่สองข้างทางเดินจะเป็นศิลาสลักรูปพญานาคอยู่รายทางไปจนกระทั่งถึงซุ้มประตูทางเข้าใหญ่ชั้นใน แนวกำแพงแต่ละชั้นจะมีระเบียงติดต่อกันตลอดและมีการสร้างบันไดยกระดับขึ้นในทุกๆท่านของแนวกำแพง ประการสำคัญบริเวณแนวกำแพงชั้นในทั้ง 4 มุมยังมีองค์ปรางค์สร้างไว้ทุกมุมและจากแนวกำแพงชั้นในจะนำเข้าสู่เทวาลัยทรงปรางค์ 5 ยอด ซึ่งจัดวางตำแหน่งอย่างสมมาตรทั้ง 4 องค์และอีก 1 องค์เป็นปรางค์ประธานอยู่ตรงกลาง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
(ที่มา : Angkor)

เหตุผลที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 สร้างปราสาทนครวัดขึ้นมานั้น ณ วันนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน บ้างก็ว่านครวัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร บ้างก็ว่าสร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระวิษณุ บ้างก็ว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 สร้างไว้เพื่อบรรจุพระอัฐิสุสานของพระองค์ เนื่องจากนครวัดหันหน้าไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศแห่งความตาย หรือบ้างก็ว่านครวัดน่าจะสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นศาสนสถานกลางพระนคร อย่างไรก็ตามหลังคริสต์ศตวรรษที่ 15 โบราณสถานแห่งนี้กลับถูกปล่อยให้รกร้างด้วยเหตุผลหลายประการ สืบเนื่องมาจากการเมืองภายในและการสู้รบเพื่อนบ้าน ส่งผลให้เมืองพระนคร (เมืองเสียมราฐ) อันเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรและเป็นที่ตั้งของนครวัดต้องล่มสลาย ผู้นำอาณาจักรจึงย้ายศูนย์กลางการปกครองมาตั้ง ณ กรุงพนมเปญ จนกระทั่งปัจจุบัน ส่งผลให้โบราณสถานต่างๆในเมืองพระนครต้องกลายเป็นที่รกร้างกลางป่ารกชัฏอยู่หลายร้อยปี

จนกระทั่ง อองรี มูโอต์ นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ได้เข้ามาค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ของโลกแห่งนี้ เข้าได้บรรยายถึงเมืองพระนครไว้ว่า เป็นนฤมิตรทางสถาปัตย์ซึ่งอาจไม่มีสิ่งก่อสร้างใดในโลกเสมอเหมือนได้และคำกล่าวนั้นไม่ได้เกินจริงแต่ประการใด นับแต่นั้นคนแทบทุกมุมโลกต่างก็รับรู้ว่านครวัดและโบราณสถานต่างๆในเมืองพระนคร มีเพียงแต่มีความยิ่งใหญ่ตระการตาหากยังมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์จนได้รับความสนใจจากผู้ใคร่รู้ในศาสตร์แขนงต่างๆมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ตำนานสร้างนครวัดฉบับหลวง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
(ที่มา : Angkor Map)
การจัดวางผังของนครวัดเปรียบเสมือนผังจำลองของระบบจักรวาลตามความเชื่อทางศาสนาฮินดูที่แพร่เข้าสู่อาณาจักรขอมโบราณ คือมองว่าจักรวาลมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วยเขา 5 ยอด เป็นที่อยู่ของเหล่าทวยเทพ มีแผ่นดิน 6 ทวีปเป็นที่อยู่ของมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ มี 7 มหาสมุทรล้อมรอบเป็นวงแหวนเช่นเดียวกับการสร้างนครวัดซึ่งมีการสร้างคูน้ำล้อมรอบแผ่นดินตามลำดับชั้น แนวทางที่ลัดตรงสู่ปราสาทหินซึ่งรายล้อมด้วยรูปพญานาคทั้งสองข้างถนนนั้น เปรียบดั่งจุดเชื่อมระหว่างมนุษย์กับสรวงสวรรค์ และกลุ่มพลังที่เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุที่สถิตของพระศิวะตามเทวตำนานของฮินดู ซึ่งโดยทั่วไปปราสาทขอมส่วนใหญ่ทรงเลือกพระศิวะเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญ
หากแต่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้รังสรรค์พระนครวัดกับทรงนับถือพระวิษณุ ดังเห็นได้จากภาพสลักของพระวิษณุปรากฏอยู่ในตำแหน่งสำคัญของศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งกว่านั้นนครวัดกับมีการจัดวางแผนผังที่แตกต่างไปจากศาสนสถานอื่นๆที่นิยมสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แต่ปราสาทแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตก นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานบางอย่างทำให้นักโบราณคดีเชื่อว่า สถานที่แห่งนี้ยังสร้างเพื่อใช้เป็นที่จัดพิธีศพพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ให้กลับสู่สรวงสวรรค์

ตำนานสร้างนครวัดฉบับชาวบ้าน

ตามหลักฐานแสดงให้เห็นว่าปราสาทนครวัดไม่ใช่ “วัง” ที่ประทับของกษัตริย์ แต่เป็น “วัด” ในศาสนาฮินดูกับเป็น “สุสาน” ฝังศพกษัตริย์ นักปราชญ์ไทยท่านหนึ่งได้ผูกคำศัพท์ขึ้นมาเรียกรวมๆว่า “มฤตกเทวาลัย” อย่างไรก็ตาม คนเขมรทั่วไปในสมัยหลังหลังคือหลังยุคปราสาทนครวัดเชื่อว่า “นาค” เป็นผู้สร้างนครวัดให้เป็น “วัง” ที่ประทับของกษัตริย์ บางครั้งก็เชื่อว่าพระอินทร์สั่งให้พระวิษณุกรมนิมิตขึ้นให้เป็น “วัง”

ชัยวรมันที่ 7 : อีกหนึ่งกษัตริย์ผู้ทรงอิทธิพล

พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงเป็นผู้สร้างปราสาทนครวัด เพราะว่านามกษัตริย์ที่สำคัญอีกพระองค์หนึ่งคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 7  (ราวศตวรรษที่ 18)  เก่าคือไม่เพียงทรงเป็นกษัตริย์ที่ชำนาญด้านศึกสงคราม หากยังเป็นผู้เชี่ยวชาญการปกครอง ทรงจัดระเบียบกฎหมายทุกหมวดหมู่เพื่อให้พระนครมีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งยังทรงสร้างสถานพยาบาลจำนวนมาก ประการสำคัญ ได้ชื่อว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้สร้างปราสาทเป็นจำนวนมากในเมืองพระนคร เช่น ปราสาทนครธม ปราสาทตาพรหมและปราสาทบันทายฉมาร์
นอกจากนี้ในแผ่นดินของพระองค์มีความกว้างใหญ่ไพศาลมาก นั่นก็คือประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน รวมทั้งประเทศจำปา ลาว สยาม ส่วนหนึ่งของแหลมมลายู และบางส่วนของประเทศพม่า ส่งผลให้พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นเวลากษัตริย์






.............................................................................................................................................................................................................

อ้างอิง

- อ้อม-แม่แจ่ม. (257).นครวัด นครธม. ค้นหาเมื่อ 23 ตุลาคม 2560 จาก https://pantip.com/topic/32506739 .
- เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2550). มรดกโลก : มรดกแห่งมวลมนุษยชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ปาเจรา.




ความคิดเห็น